เว็บไซต์เผยแพร่การศึกษา โดยครูโสภิต จิรัญดร

ที่มา : http://www.warehouse.mnre.go.th/portal/

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
นอกจากธรรมชาติจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษแล้ว ยังเกิดจากการกระทำของมนุษย์เอง ซึ่งนับว่าเป็นตัวการที่สำคัญที่สุด ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. การเพิ่มจำนวนประชากร ภายในระยะเวลาไม่กี่สิบปีมานี้ ประชากรของโลกได้เพิ่ม
จำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นความต้องการปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งได้แก่อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
มนุษย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาและผลิตสิ่งต่างๆเหล่านี้ให้พอเพียงกับความต้องการ ทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติที่
มีอยู่ลดลงทุกๆปี ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การเสียสมดุลธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ และปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ
2. การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม การพัฒนาของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้าน
เกษตรกรรมหรือการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม ได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างมากมายจนเกิดเป็นการ
ทำลายธรรมชาติ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและชลประทาน มีส่วนทำให้พื้นที่ป่าสูญเสียไป การทำ
เหมืองแร่ นอกจากทำลายสภาพป่าแล้ว ยังทำให้น้ำและดินเสียหายอีกด้วย เป็นต้น และในปัจจุบัน ได้มีการนำ
เทคโนโลยีใหม่ ๆมาช่วยในการพัฒนาก็ยิ่งเพิ่มความเสียหายมากขึ้นทั้งนี้เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวกระทำ
ไปเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์เท่านั้นไม่ได้นำมาเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น เราจึงพบว่า
ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีส่วนมาจากการใช้เทคโนโลยีของมนุษย์
เกือบทั้งสิ้น เช่น การใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ได้ก่อให้เกิดการตกค้างของสารพิษ
ทั้งตามพื้นดินในน้ำ ในอากาศ และในพืชผักผลไม้และจะตกค้างมาถึงมนุษย์
เมื่อบริโภคอาหารที่มีสารพิษนั้นเข้าไป การใช้น้ำยาสารเคมีในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสีย
จากกระบวนการดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่น้ำ ทำให้เกิดการเน่าเสียตามมาเป็นต้น
3. การกระทำโดยตรงของมนุษย์ จากการศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันจะ
พบว่าปัญหาดังกล่าวล้วนเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสีย
หายไปทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่ตลอดเวลา การกระทำของมนุษย์
ที่สร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมจนเกิดเป็นมลพิษขึ้นมีมากมาย ที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
3.1 การทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลลงบนพื้นดิน ถนนหนทาง และแหล่งน้ำ
3.2 การปล่อยน้ำเสียจากบ้านเรือน ชุมชน หรือโรงงานลงสู่แม่น้ำลำคลอง
3.3 การปล่อยควันพิษซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องจักรกลในโรงงาน
อุตสาหกรรมเข้าสู่อากาศ
3.4 การปล่อยไอเสียจากท่อไอเสียรถยนต์และยานพาหนะต่างๆ
3.5 การทำลายสาธารณสมบัติ เช่น สวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น
ปัญหาสิ่งแวดล้อมนอกจากเกิดจากสาเหตุดังกล่าวนี้แล้ว ยังจากสาเหตุอื่นๆอีก เช่น การขยายตัว
ของเมืองอย่างรวดเร็วและขาดการวางผังเมืองเอาไว้ล่วงหน้า ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ
ของมนุษย์ เป็นต้น
ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจนถึงระดับที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือภาวะมลพิษ ซึ่งเป็น
อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น โดยเฉพาะจะมีผลเสียต่อมนุษย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย
สุขภาพจิต หรือแม้กระทั่งชีวิตของมนุษย์เอง

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่สำคัญ
และควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนได้แก่

1. ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพหรือดินพังทลาย
2. ปัญหามลพิษทางน้ำ
3. ปัญหามลพิษทางอากาศ

ตัวอย่างปัญหาสิ่งแวดล้อม

 


มลพิษทางน้ำ

1. ธรรมชาติ แหล่งน้ำต่างๆ อาจเกิดจากการเน่าเสียได้เองเมื่ออยู่ในภาวะที่ขาดออกซิเจน
ส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วของแพลงค์ตอน แล้วตายลงพร้อม ๆ กัน
เมื่อจุลินทรีย์ทําการย่อยสลายซากแพลงค์ตอน ทําให์ออกซิเจนในน้ำถูกนําไปใช้มาก
จนเกิดการขาดแคลนได้นอกจากนี้การเน่าเสียอาจเกิดได้อีกประการหนึ่งคือ
เมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการหมุนเวียนถ่ายเท
2. น้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน ได้แก่ อาคาร บ้านเรือน สํานักงาน อาคารพาณิชย์
โรงแรมเป็นต้นสิ่งปะปนมากับน้ำทิ้งประกอบด้วยสารอินทรีย์ซึ่งจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลาย
สารอินทรีย์ที่สําคัญคือ แบคทีเรีย
โดยทั่วไปถ้าในแหล่งน้ำใดมีค่า BODสูงกว่า 100มิลลิกรัม/ลิตร จัดว่าน้ำนั้นเป็นน้ำเสีย
ถ้าในแหล่งน้ำนั้นมีค่า BOD สูง หรือมีอินทรียสารมากปริมาณออกซิเจนในน้ำจะลดน้อยลง
แบคทีเรียแอโรบิกจะลดน้อยลง
3. การเกษตร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้น้ำเสีย เช่น การเลี้ยงสัตว์ เศษอาหารและน้ำทิ้ง
จากการชําระคอกสัตว์ ทิ้งลงสู่แม่น้ำ ซึ่งก่อให้เกิดโรคระบาด การใช้ปุ๋ยไนเตรตของเกษตรกร
เมื่อปุ๋ยลงสู่แหล่งน้ำจะทําให้น้ำมีปริมาณเกลือไนเตรตสูงถ้าดื่มเข้าไปจะทําให้เป็นโรคพิษไนเตรต
ไนเตรตจะเปลี่ยนเป็นไนไตรต์แล้วรวมตัวกับฮีโมโกลบินอาจทําให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
นอกจากนี้เกษตรกรนิยมใช้สารกําจัดศัตรูพืชมากขึ้น สารที่ตกค้างตามต้นพืช และตามผิวดิน
จะถูกชะล้างไปกับน้ำฝนและไหลลงสู่แหล่งน้ำ สารที่สลายตัวช้าจะสะสมในแหล่งน้ นั้นมากขึ้น
จนเป็นอันตรายได้
4. โรงงานอุตสาหกรรม ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานปลาป่น โรงงาน
ผลิตภัณฑ์นม โรงโม่แป้ง โรงงานทําอาหารกระป๋อง ส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์พวกโปรตีน
คาร์โบไฮเดรตปนอยู่มาก สารอินทรีย์ที่ถูกปล่อยออกมากับน้ำทิ้งนี้ก็จะถูกย่อยสลาย
ทําให้เกิดผล เช่นเดียวกับน้ำทิ้งที่ถูกปล่อยจากชุมชน นอกจากนี้อาจมีสารพิษชนิดอื่นปะปนอยู่ด้วย
ขึ้นอยู่กับ ประเภทของโรงงาน เช่นปรอทจากโรงงานผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นสารพิษต่อสัตว์น้ำ
และผู้นําสัตว์น้ำไปบริโภคนอกจากนี้น้ำทิ้งจากโรงงานบางประเภท ทําให้สภาพกรดเบส
ของแหล่งน้ำนั้นเปลี่ยนไป เช่นน้ำทิ้งจากโรงงานกระดาษมีค่า pH สูงมาก น้ำทิ้งจากโรงงาน
บางประเภท เช่นจากโรงไฟฟ้าอาจทําให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงไป
สภาพเช่นนี้ไม่เหมาะกับการดํารงชีพของสิ่งมีชีวิตในน้ำ
5. การคมนาคมทางน้ำ ในการเดินเรือตามแหล่งน้ำ ลําคลอง ทะเล มหาสมุทร มีการทิ้ง
ของเสียที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์ และน้ำมันเชื้อเพลิงถ้ามีโอกาสรั่วไหลลงน้ำได้และมีจํานวนมาก
ก็จะทําให้สัตว์น้ำขาดออกซิเจน และเป็นผลเสียต่อระบบนิเวศ


 
 

ตัวอย่างปัญหามลพิษทางอากาศ


 
 

1) ปัญหาเรื่องสุขภาพของมนุษย์ สารมลพิษทางอากาศที่มนุษย์รับเข้าไปในร่างกาย
หากรับไปในปริมาณมากในทันทีทันใดก็จะก่อให้เกิดผลกระทบทันที
และหากรับในปริมาณน้อย จะเข้าไปสะสมในร่างกายจนมีปริมาณมากพอที่จะทำให้
บุคคลได้รับสารมลพิษแสดงอาการเป็นพิษออกมาในรูปของการเจ็บป่วยรูปแบบต่างๆ
เช่น กรณีการเกิดมลพิษทางอากาศจากโรงงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ใน พ.ศ. 2540 ทำให้ครู และนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร
จำนวน 120 คน ป่วยด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ
เจ็บคอและคออักเสบ โพรงจมูกอักเสบและเริ่มมีติ่งเล็กๆ
ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งก็ทำให้เกิดผลกระทบเช่นกัน
ในกรณีของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมา
ทำให้ประชาชนในแม่เมาะเจ็บป่วย เป็นต้น
2) ปัญหาเรื่องความสกปรกจากการมีฝุ่นละอองและมลสารในอากาศ
ที่เกินจากสภาพธรรมชาติทำให้สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสิ่งก่อสร้างเกิดความสกปรก
มีสภาพที่ไม่น่าดู เกิดความไม่สบายตาไม่สบายใจแก่ผู้พบเห็นและผู้อาศัย
3) ปัญหาทางเศรษฐกิจ จากความสกปรกทางอากาศไม่ว่าในเรื่องฝุ่นละอองหรือมลสารอื่น
ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและทำความสะอาด
4) ปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค การที่มลพิษทางอากาศทำให้บ้านเรือน
โดยเฉพาะส่วนหลังคาสกปรก เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะล้างลงสู่ภาชนะรองรับ
รวมทั้งแหล่งน้ำทำให้ประชาชนที่นำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคไม่ได้
บางครั้งมลพิษทางอากาศทำให้เกิดกรด-ด่างของน้ำเปลี่ยนแปลง เช่น
กรณีที่สารอะลูมิเนียมคลอไรด์จากโรงงานพีเคซี (นิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการ)
รั่วไหล ใน พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดกลุ่มควันพิษที่มีกลิ่นคล้ายกรด จนกลายเป็นกรดเกลือ (HCl)
และเกิดควันพิษขึ้นดังกล่าวจนทำให้ประชาชนในบริเวณนั้นมีอาการแสบจมูก แสบตา น้ำตาไหล
แน่นหน้าอก หมดสติในทันทีและส่งผลต่อคุณภาพน้ำทะเลในบริเวณนั้น
5) ปัญหาต่อพืชและผลผลิตทางการเกษตร มลพิษทางอากาศบางชนิดจะทำลาย
โครงสร้างภายนอกและภายในของใบทำให้ใบมีสีซีด (คลอโรฟีลล์ถูกทำลาย)
ทำให้ต้นไม้พืชผักเหี่ยวเฉา สภาพดินที่เป็นกรดทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่เจริญเติบโต
6) ปัญหาการเกิดฝนกรด สารมลพิษทางอากาศที่ปล่อยออกมาเมื่อรวมกับน้ำฝน
แล้วทำให้น้ำฝนมีความเป็นกรด เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(เกิดกรดไนตริกและกรดกำมะถัน) ฝนกรดนี้จะทำลายสิ่งก่อสร้างให้สึกกร่อน ป่าไม้ถูกทำลาย
แหล่งน้ำเมื่อเป็นกรดเพิ่มขึ้นจะทำให้สิ่งมี-ชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้
เกิดผลกระทบต่อเนื่องกับห่วงโซ่อาหาร
7) ปัญหาปรากฏการณ์โลกร้อน
8) ปัญหาทัศนวิสัย อากาศที่มีฝุ่นละออง ควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์
หรือจากกิจกรรมของชุมชน ปล่องควันของโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากการเผาป่า
ดังกรณีที่เกิดไฟไหม้ป่า
ในอินโดนีเซียส่งผลกระทบเป็นวงกว้างครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ของไทยหลายจังหวัด
ทั้งด้านสุขภาพอนามัยและทัศนวิสัยไม่ดีอันเนื่องมาจากหมอกควันที่แผ่กระจาย
การเดินทางติดต่อสื่อสารหรือการทำงานภายใต้หมอกควันหนาทึบต้องใช้ไฟฟ้า
หรือไฟหน้ารถ หรือกรณีของการเกิดไฟไหม้อาคารสถานที่หรือที่พักอาศัย
เพลิงจะสงบลงได้ควันไฟได้ฟุ้งกระจาย บรรยากาศมืดครึ้ม

 

 
  ปัญหามลพิษทางเีสียง
 
 

 

สาเหตุของมลพิษทางเสียง
เสียงที่ดังเกินความจําเป็นจนก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของคน
มาจากแหล่งต่าง ๆ มากมาย ที่สําคัญ ได้แก่
1. การคมนาคมมีการใช้รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์
รถบรรทุกและเครื่องบิน เพิ่มมากขึ้น ทําให้ระดับเสียงเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
อาจจําแนกให้เห็นได้ดังนี้
รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง (ตุ๊ก ๆ) มีระดับเสียง 35 เดซิเบล
รถยนต์ มีระดับเสียง 60 - 25 เดซิเบล
รถบรรทุก มีระดับเสียง 95 - 120 เดซิเบล
รถไฟวิ่งห่าง 100 ฟุต มีระดับเสียง 60 เดซิเบล
เครื่องบิน มีระดับเสียง 100 - 140 เดซิเบล
สํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กําหนดค่าระดับเสียงในย่านที่อยู่อาศัย
ในเวลากลางวันและกลางคืนไว้ ไม่เกิน 60 เดซิเบลและ 55 เดซิเบลตามลําดับ สําหรับระดับเสียง
ที่ประกาศโดยพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร อันเกิดจากเครื่องยนต์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใด
ของรถยนต์ จักรยานยนต์ในสภาพปกติไม่เกิน 95 เดซิเบล เมื่อวัดระดับเสียงด้วยเครื่องวัดเสียง
ในระยะห่าง 7.5 เมตร โดยรอบ
2. โรงงานอุตสาหกรรม เป็นเสียงที่เกิดจากการทํางานของเครื่องจักรขนาดต่าง ๆ
ซึ่งทําให้ เกิดระดับเสียงแตกต่างกันไปตั้งแต่ 60 เดซิเบล จนถึง 120 เดซิเบล
แล้วแต่ขนาดแรงมาของเครื่องจักร วัสดุที่ใช้ทําฝาหรือเพดานโรงงาน
รวมทั้งสภาพแวดล้อมของโรงงานด้วย
3. จากครัวเรือน เป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน
เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องขัดพื้น วิทยุ และโทรทัศน์
ทําให้เกิดระดับเสียงประมาณ 60 -70 เดซิเบล
4. เสียงรบกวนที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การโฆษณา ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
และเสียงทะเลาะ วิวาทต่าง ๆ
ผลกระทบของมลพิษทางเสียง
ข้อกําหนดขององค์การอนามัยโลก สําหรับระดับเสียงที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 85 เดซิเบล
เมื่อสัมผัสวันละ 8 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดจากมลพิษของเสียง ถ้าให้สัมผัสวันละหลาย ๆ ชั่วโมง
เป็นเวลา นาน ๆ ก็จะก่อให้เกิดอันตรายที่พอจะจําแนกได้ดังนี้คือ
1. ผลต่อจิตใจ
- ก่อให้เกิดอาการหงุดหงิด รําคาญใจ ประสาทเครียด
- ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
- ก่อให้เกิดการคลุ้มคลั่ง เสียสมาธิ
2. ผลต่อร่างกาย
- ทําให้หัวใจเต้นแรง อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง
- ทําให้เกิดกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ เป็นโรคแผลในกระเพาะ
- ทําให้ความดันโลหิตสูง
- ทําให้กล้ามเนื้อกระตุก เกิดอาการเหนื่อยหอบและแพ้
- ทําให้นอนไม่หลับ
- ทําให้ประสาทหูเสื่อม อาจทําให้หูพิการ หูตึง หูหนวก
3. ผลต่อการทํางาน ทําให้ประสิทธิภาพของการทํางานลดลง การติดต่อประสานงาน
ล่าช้า บางครั้งเกิดการผิดพลาดทําให้งานเสีย หรืออาจทําให้เกิดอุบัติเหตุได้
4. ผลต่อการสื่อสาร เสียงดังกว่าปกติอาจรบกวนต่อการสื่อสาร การรับสัญญาณ
และการรับ คําสั่งต่าง ๆ อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
5. เกิดความเสียหายต่อวัตถุ เสียงที่มีระดับสูง เช่น เสียงจากเครื่องบินชนิดเร็วกว่าเสียง
ทําให้เกิดการสั่นสะเทือน บางครั้งยังมีความดันทําให้อากาศมีความดันสูงขึ้นระหว่าง 1-10 ปอนด์
ต่อตารางฟุต ทําให้วัตถุหรือสิ่งก่อสร้างบางชนิด เช่น กําแพง ฝาผนัง หลังคา และหน้าต่าง
สั่นไหว หน้าต่างกระจกถูกทําลายได้

ที่มา : http://www.warehouse.mnre.go.th/portal/


 
  หนังสืออ้างอิง  
  กวี พันธุ์มีเชาว์ และคณะ. เกมลูกเสือ เนตรนารี 335 เกม (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543.
นิชัฎ คำสมาน. กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด, 2547.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ม.3. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2548.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เครื่องหมายลูกเสือโลก.
กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2538.
อำนาจ เจริญศิลป์. นิทานรอบกองไฟ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์, 2546.
 
     


<กลับด้านบน>


© Copyright เมษายน 2551