เว็บไซต์เผยแพร่การศึกษา โดยครูโสภิต จิรัญดร
พระราชประวัติรัชกาลที่  6

ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423
ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
เมื่อทรงพระเยาว์ ได้ศึกษาวิชาภาษาไทย
กับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
จนแตกฉาน พระชนมายุ 14 พรรษา
ก็เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ
เป็นเวลา 9 ปีก่อนเสวยราชย์ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง
พระยศเป็นพลเอกแห่งกองทัพบก
เมื่อพระชนมายุได้ 30 พรรษา
ก็เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้วยพระปรีชาสามารถ ประชาชนจึงถวายพระสมญานาม
แด่พระองค์ว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
พระองค์ทรงครองราชย์ได้ 16 ปี ก็เสด็จสวรรคต
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
รวมพระชนมายุได้ 46 พรรษา

ที่มา:http://www.holy.ac.th/holy/website/thaihistory.htm

     
**ธงไทยเฉลิมพลเสือป่า  ประจำกรมเสือป่าราบหลวง
ต้นกำเนิดที่มาของคณะลูกเสือแห่งชาติ
.....
พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้
13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป
ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบ
เพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์
(Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็ก เป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้น
เป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450
เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า
(Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือน
ได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย
เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตน
ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง

  กองลูกเสือของประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่ 3 ของโลก รองจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา กองลูกเสือกองแรกที่ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกองลูกเสือหลวงตั้งขึ้นที่ร.ร.มหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน)ได้ทำพิธีเข้าประจำกองเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2454 โดยพระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์”



 

  ลูกเสือคนแรกคือ นายชัพพ์ บุญนาค นักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งได้ถือว่าได้แต่งเครื่องแบบลูกเสือเป็นคนแรก และได้กล่าวคำปฏิญาณลูกเสือเป็นคนแรก โดยพระองค์ท่านมีพระราชโองการว่า
“อ้ายชัพพ์ เอ็งเป็นลูกเสือแล้ว” ต่อมากิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทย
 

ที่มา : http://www.holy.ac.th/holy/website/thaihistory.htm


 
วิวัฒนาการลูกเสือไทย  


 

ยุคส่งเสริม ( พ.ศ. 2468 -2482 )
ปี พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Jamboree) ขึ้น
ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ และกำหนดให้มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ
ในทุก ๆ 3 ปี
ปี พ.ศ. 2473 มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ขึ้น
ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ ซึ่งมีคณะลูกเสือต่างประเทศจากประเทศญี่ปุ่น
เข้าร่วมงานด้วย
ปี พ.ศ. 2475 หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มี
“ลูกเสือสมุทรเสนา” เกิดขึ้น อีกหนึ่งเหล่า โดยจัดตั้งกองลูกเสือสมุทรเสนา
ในจังหวัดแถบชายทะเล เพื่อให้เด็กในท้องถิ่นมีความรู้ความสามารถ
ในวิทยาการทางทะเล

ยุคประคับประคอง ( พ.ศ. 2482 – 2488 )
กิจการลูกเสือไทย ในสมัยรัชกาลที่ 8 ยุคนี้
เป็นยุคที่กิจการลูกเสือซบเซา
เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง.
ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ด้วยเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2
(World War II)
ขึ้นในปี พ.ศ. 2482
และสงครามอื่นๆ
 
    **ภาพ รัชกาลที่ 8

   
ยุคก้าวหน้า ( พ.ศ. 2489 – 2514 )
กิจการลูกเสือในสมัยรัชกาลปัจจุบัน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช ได้เจริญก้าวหน้า
เป็นอย่างมาก ทั้งด้านการบริหาร
วิชาการและกิจการลูกเสือในปี พ.ศ.2496 ได้ดำเนินการสร้างค่ายวชิราวุธ
ที่ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี




 
   

**ภาพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน
 
 

**ภาพ การอบรมลูกเสือ - เนตรนารี ในค่ายลูกเสือ

 
 

            
นอกจากมีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือฉบับต่าง ๆ แล้ว ได้มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านขึ้น เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2514 ณ บ้านเหล่ากอหอ ตำบลแสงผา กิ่งอำเภอแห้ว จังหวัดเลย  โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ใน
พระบรมราชานุเคราะห์

ที่มา : http://www.holy.ac.th/holy/website/thaihistory.htm

 

 
 
วิวัฒนาการของลูกเสือโลก

 
 

ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20
บริเวณหาดยาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2545 – 4 มกราคม 2546
คำขวัญของงานชุมนุม “ร่วมโลกเดียวกัน สร้างสัมพันธ์ต่างวัฒนธรรม

 
 

การให้บริการงานชุมนุมลูกเสือโลก

 
  ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20
บริเวณหาดยาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2545 – 4 มกราคม 2546
คำขวัญของงานชุมนุม “ร่วมโลกเดียวกัน สร้างสัมพันธ์ต่างวัฒนธรรม




ศาลาไทย เป็นสัญลักษณ์ของงานชุมนุม
ที่มา: http://www.holy.ac.th/holy/website/BP.htm#2
 

วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ



 
ปีพ.ศ.2490ทางราชการได้ฟื้นฟูกิจการลูกเสืออีกครั้งมีการจัดชุมนุมของลูกเสือแห่งชาติ
ส่งเจ้าหน้าที่ในกองการลูกเสือไปเข้ารับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือตามมาตรฐานสากล
และตามแบบนานาประเทศตามลำดับ มีพระราชบัญญัติลูกเสือใช้บังคับ
โดยคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้บริหาร วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือได้รับ
การปรับปรุงและเน้นให้เห็นชัดเจน มีความว่า "คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อ
พัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ
สร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ"
แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสวรรคตแล้วก็ตาม
พระราชอนุสรณ์กิจการลูกเสือของพระองค์ท่านได้พัฒนารุ่งเรืองมาตามลำดับ
จนเป็นกิจการที่สร้างคุณประโยชน์สร้างชื่อเสียงของประเทศ และเพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน
ทางราชการจึงได้กำหนดวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็น
"วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ" หรือ "วันลูกเสือ"
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
1. ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่ผู้ให้กำเนิดลูกเสือแห่งประเทศไทย
2. จัดนิทรรศการ เผยแผ่ ประวัติความเป็นมาของลูกเสือและผลงานต่างๆ
3. ร่วมกิจกรรมต่างๆในวันลูกเสือ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมที่พระบรมรูปฯ
สถานพระบรมราชานุสรณ์ หรือที่ที่ทางราชการกำหนด
 


 

  หนังสืออ้างอิง  
  กวี พันธุ์มีเชาว์ และคณะ. เกมลูกเสือ เนตรนารี 335 เกม (ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543.
นิชัฎ คำสมาน. กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด, 2547.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ม.3. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2548.
มูลนิธิ, คณะลูกเสือแห่งชาติ. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เครื่องหมายลูกเสือโลก.
กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์, 2538.
อำนาจ เจริญศิลป์.นิทานรอบกองไฟ.พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์, 2546.
 
     


<กลับด้านบน>
© Copyright เมษายน 2551